ชื่อเรื่อง     ระบบเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องวัดฝุ่นขนาดเล็ก

โรงพยาบาล / สถาบัน : โรงพยาบาลฟากท่า อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อเจ้าของผลงาน : นายจรัส  สีกา  ชื่อย่อวุฒิการศึกษา : ส.บ.

ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นายจรัส  สีกา ชื่อย่อวุฒิการศึกษา : ส.บ.

  1. บทคัดย่อ/ Abstract: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

          หลักการและสถานการณ์ PM 2.5 เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พบค่าฝุ่น PM 2.5เกินค่ามาตรฐานทุกปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก 1) การเผาป่า ร้อยละ 46.72 2) การเผาวัชพืชทางการเกษตร ร้อยละ 35.48 3) การเผาขยะมูลฝอยทั่วไป ร้อยละ 17.80 เนื่องจากมีสถานีวัดเพียงสถานีตรวจวัดเพียง 1 แห่งการเข้าถึงข้อมูลและระบบแจ้งเตือนยังไม่ครอบคลุม             

          วัตถุประสงค์ของโครงการนวัตกรรม 1 เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังฝุ่น pm 2.5 ที่มีราคาประหยัดและเชื่อมข้อมูลในระบบออนไลน์  2 เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนปัญหาสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น pm 2.5

          ขอบเขตนวัตกรรม พัฒนาเครื่องวัดฝุ่น pm2.5 ขนาดเล็ก ราคาประหยัด สามารถเชื่อต่อระบบ Internet พัฒนาระบบเว็บแอพพลิเคชั่น รับข้อมูลจากเครื่องวัดฝุ่น pm2.5 และ ข้อมูลแสดงจำนวนผู้ได้รับผลการะทบ จากฝุ่น pm 2.5           

          ขั้นตอนการการดำเนินงานนวัตกรรม  วางแผน ทบทวนเอกสาร ออกแบบอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์วงจรไฟฟ้า เขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ออกแบบระบบการแจ้งเตือน /ผ่านแอพพลิเคชั่น Line Group ระบบฐานข้อมูล Mysql และพัฒนาระบบหน้า Dashboard เฝ้าระวังฝุ่น pm2.5.อ.ฟากท่า ลงมือทำ ประกอบเครื่องวัดฝุ่น pm2.5 เครื่องต้นแบบ ทดสอบการเชื่อมต่อระบบinternet การเชื่อต่อฐานข้อมูล เพื่อให้ได้ค่าการวัดฝุ่น pm 2.5 ที่น่าเชื่อถือ นำมาทดสอบการวัดค่าฝุ่น ในจุดตั้งสถานีวัดเดียวกันกับ เครื่อง Dustboy model plus และปรับให้มีค่าใกล้เคียง และการแสดงผลผ่านหน้าระบบ Dashboard การแจ้งเตือนผ่านระบบ line OA และ Line Group ประเมินผลความพึงพอใจ การใช้งานประชาชนร้อยละ82.4
          ผลของนวัตกรรม เครื่องวัดฝุ่นpm2.5Faktha สามารถวัดฝุ่น pm2.5 วัดฝุ่นและแสดงค่าผ่านหน้าจอ ส่งข้อมูลขึ้นระบบ ชม.ละ 1 ครั้ง แจ้งเตือนค่าฝุ่นpm2.5 ผ่านระบบ LIne Group และ Dashboard  https://fakthaapp.moph.go.th/fakthapm/

          การนำไปใช้ประโยชน์   เครื่องวัดฝุ่น pm2.5 Fakthapm2.5 ติดตั้งในชุมชุมหมู่บ้าน โรงเรียน ส่งข้อมูล และคำแนะนำ ผ่านระบบ เว็บแอพพลิเคชั่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และการปฏิบัติตัวเอง นำข้อมูลไปใช้เฝ้าระวังในแต่ชุมชน          

บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง

เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล. (2018). การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2. 5 และ PM10 ในบรรยากาศ ด้วยเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. Journal of Innovative Technology Research, 2(1), 59-78.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, (2564). ดัชนีคุณภาพอากาศ. สืบค้นจาก https://pm2_5.nrct.go.th/definition

Pongphab, D., & Santakij, P. (2021). เครื่องวัดฝุ่น PM2. 5 แจ้งเตือนทางแอพพลิเคชันไลน์. UTK RESEARCH JOURNAL, 15(2), 45-57.

ระบบเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องวัดฝุ่นขนาดเล็ก ฉบับเต็ม

Share on Myspace