หน้าที่ของกลุ่มงานเภสัชกรรม
ก.หน้าที่และเป้าหมาย
กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่ให้บริการด้านเภสัชกรรมแก่ผู้รับบริการ บริหารเวชภัณฑ์ ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน มีความปลอดภัย ถูกต้อง รวดเร็ว ตามมาตรฐานวิชาชีพ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
ข.ขอบเขตการให้บริการ
- งานจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ และสนับสนุนสถานบริการระดับรอง
- มีการประชุมพิจารณาคัดเลือกรายการเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล โดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
- จัดทำแผนการจัดซื้อยา ควบคุมการระบบบัญชีรับจ่ายอย่างรัดกุมและถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้มีปริมาณเวชภัณฑ์เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้ป่วย รวมถึงมีเวชภัณฑ์คงคลังครบถ้วนตรงตามบัญชี เป็นปัจจุบัน และไม่มีเวชภัณฑ์ค้าง stock หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ
- นำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง
- ดูแลการเก็บรักษาเวชภัณฑ์ให้มีความคงตัว มีประสิทธิภาพในการรักษา
- วางแผนการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ยาให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั้ง 4 แห่ง
- งานให้บริการผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก
- จัดและจ่ายยาตามแผนการรักษาในแฟ้มประวัติ (Drug Profile) โดยพิจารณาจากความถูกต้องรูปแบบ ความแรง ขนาดยา ปฏิกิริยาต่อกันของยา รวมถึงจำนวนยาที่เพียงพอตามวันนัด ให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 00.30 น. วันเสาร์ อาทิตย์ 08.30-20.30 น.
- ให้บริการจ่ายยาและดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในเวลาราชการที่คลินิกเฉพาะโรค ได้แก่
- คลินิกโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- คลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- คลินิกวัณโรค
- คลินิกวาร์ฟาริน
- คลินิกผู้ป่วย HIV
- คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวช
- ร่วมประชุมกับคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด เพื่อกำหนดแนวทางการสำรองและเก็บรักษายาฉุกเฉินไว้ในหอผู้ป่วย ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน และรถ Refer
- ให้บริการเภสัชสนเทศและวิชาการด้านยาแก่บุคลากรทางการแพทย์
- ให้การบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่
- การให้คำปรึกษาเรื่องยา (Drug Counselling)
- การเฝ้าระวังการใช้ยากลุ่มเสี่ยงสูง(High alert Drugs :HAD)
- การประเมินและติดตามผลการใช้ยา( Drug Utilization Evaluation :DUE)
- การติดตามความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา (RDU)
- การติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reaction Monitoring :ADRM)
- การเฝ้าระวัง ตรวจสอบและแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยา(Medication Error)
- การเฝ้าระวังและตรวจสอบDrug interaction
- การให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วยในก่อนกลับบ้าน(Discharge Drug Counselling)
- Medication reconciliation
- ตรวจสอบคุณภาพของยาฉุกเฉิน เฝ้าระวังยาใกล้หมดอายุที่จุดสำรองยา ได้แก่ ER LR IPD งานปฐมภูมิ และ รพ.สต.ในเครือข่าย
- ใช้ระบบการกระจายยาสู่หอผู้ป่วย แบบ daily dose เพื่อลดความสูญเสีย และลดความคลาดเคลื่อนทางยา
- ตรวจสอบความเหมาะสมของใบสั่งยาทุกใบ จ่ายและแนะนำการใช้ยา ข้อควรปฏิบัติตามหลักวิชาการ
- ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านยา แก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
- งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
- เฝ้าระวังความปลอดภัย และให้ความรู้ด้านยา อาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ประชาชนในพื้นที่
- มีระบบการรายงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข โดยประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
- จัดกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ได้แก่ กิจกรรม อ.ย.น้อย ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอ ร่วมกับโรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอฟากท่า
บุคลากรกลุ่มเภสัชกรรม
นายวัชรินทร์ บำรุงเกตุ
หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค
นายศิวดล เขื่อนแก้ว
เภสัชกรชำนาญการ
นางสาวจิรัชยา พรมมี
เภสัชกร
นางสาวภัทรวดี ศรีปทุมสกุล
เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชำนาญงาน
นางสาวศิรประภา สอนใจ
เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน
นางนภัสวรรณ กันหาสินธุ์
เจ้าพนักงานพัสดุ
นายณัชพล ทาโทน
พนักงานห้องยา
บริการกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค
ก.บริการกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคในเวลาราชการ
ข.บริการกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคนอกเวลาราชการนอกเวลาราชการ
แผนปฏิบัติงานกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2567
...
แผนพัฒนาคุณภาพกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคประจำปี 2567
...
service profile
โครงการสาธารณสุข ปี 2567
...
กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลฟากท่า ให้บริการปลอดภัย และผู้รับบริการพึงพอใจ มีข้อเสนอแนะ หรือ สอบถามการบริการ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 055489-339 ต่อ 7