ชื่อผลงาน : การพัฒนาแนวทางการคัดกรองวัณโรค

โรงพยาบาล / สถาบัน : โรงพยาบาลฟากท่า อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อเจ้าของผลงาน : นางสาวฐิตินันท์ ดีมูล  ชื่อย่อวุฒิการศึกษา : ส.บ.

ชื่อผู้ร่วมผลงาน (ระบุรายชื่อและวุฒิย่อ) : นางสาวศรุดา จันโสดา ชื่อย่อวุฒิการศึกษา : พ.บ.

ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางสาวฐิตินันท์ ดีมูล  ชื่อย่อวุฒิการศึกษา : ส.บ.

 

1.บทคัดย่อ :

          ประเทศไทยมีนโยบายเร่งรัดการคัดกรองวัณโรคด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) วินิจฉัยวัณโรคด้วยวิธีอณูชีววิทยา (molecular testing) ทดสอบความไวของเชื้อต่อยารักษาวัณโรค (DST) ในผู้ป่วยวัณโรค และรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาด้วยสูตรยาที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการรักษาสั้นลง ซึ่งทำให้สถาณการณ์วัณโรคของประเทศไทยดีขี้น เพื่อให้การดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยา ให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยวัณโรคอย่างรวดเร็ว ลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ได้รับการดูแลรักษาที่ได้มาตรฐานและรักษาหายรักษาครบ          

           จากสถานการณ์โรควัณโรคอัตราความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ โรงพยาบาลฟากท่า อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี 2561 - 2565 พบว่า         มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา จำนวน 18,15,12,14, และ 11 ราย ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 52, 68.18, 54.54, 70 และ 52.38 ตามลำดับ ซึ่งผลการดำเนินงานยังไม่ผ่านค่าเป้าหมายที่กระทรวงกำหนด (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90) จากการทบทวนการดำเนินงานคัดกรองวัณโรคในกลุ่มผู้มีอาการสงสัยเป็นวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรค พบปัญหา ระบบการติดตามกลุ่มเสี่ยงฯ เข้ารับบริการคัดกรอง   วัณโรคที่ไม่ต่อเนื่อง และการแปลผลจากภาพเอกซเรย์(Chest x-ray) ที่เข้าได้กับวัณโรคมีจำนวนค่อนข้างน้อย ดังนั้นจึงมีเป้าหมาย 1) เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 2) เพื่อเพิ่มร้อยละการใช้ AI การวินิจฉัยผู้ป่วย            ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 โดยมีกิจกรรมพัฒนา คือ สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรค ประชุมทีมเครือข่ายงานวัณโรคอำเภอฟากท่า เพื่อชี้แจงแนวทางการคัดกรองวัณโรค จัดทำแผนการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรคในพื้นที่อำเภอฟากท่า โดยใช้รถเอกซเรย์เคลื่อนที่ ดำเนินการออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรคเชิงรุกในชุมชน โดยใช้รถเอกซเรย์เคลื่อนที่คัดกรอง       การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) และคัดกรองอาการแสดงเข้าได้กับวัณโรค มีระบบการติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรคกรณีที่ยังไม่ได้รับการคัดกรองการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray)      อีกทั้งมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ช่วยแปลผลภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) ตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยวัณโรคเบื้องต้น เป็นการช่วยค้นหาและเข้าสู่กระบวนการรักษาวัณโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลฟากท่า ทำหน้าที่ในการนำภาพเอกซเรย์เข้าโปรแกรม AI และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต./อสม. เพื่อติดตามให้กลุ่มที่มีผลภาพเอกซเรย์ผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรค มาตรวจเสมหะ AFB และประชุมสรุปถอดบทเรียนการดำเนินงานคัดกรองวัณโรค ร่วมกับทีมเครือข่ายวัณโรคอำเภอ      ฟากท่า

          จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ ในปี 2566 อัตราความครอบคลุมการ        ขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผ่านเกณฑ์เป้าหมายกำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 และร้อยละการใช้ AI การวินิจฉัยผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

บทเรียนที่ได้รับ :

  • การติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรค เพื่อเข้ารับการคัดกรองถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) จำเป็นต้องติดตามให้ครบทุกราย เพื่อเพิ่มการค้นหา การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคได้ถูกต้อง ทันเวลา ลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค

สิ่งที่จะทำแตกต่างไปจากเดิมในคราวหน้า :

  • งานวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินคัดกรองวัณโรค อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

การติดต่อกับทีมงาน : นางสาวฐิตินันท์ ดีมูล  โทรศัพท์ติดต่อ. 095-5764774                             E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

การพัฒนาแนวทางการคัดกรองวัณโรค  ฉบับเต็ม

Share on Myspace