งานวิจัยปัจจัยที่มีผลการต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน
ในช่วงสถานการณ์ PM 2.5 อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
Factors affecting the implementation of public health behaviour surveillance
during the situation PM 2.5, Fak Tha District Uttaradit Province
นงลักษณ์ บ้านกล้วย
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
โรงพยาบาลฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจาก มีสถานการณ์ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานทุกปี และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดขึ้น ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรุงเทพมหานคร/ปริมณฑลซึ่งสาเหตุมาจากทั้งไฟป่าและการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัชพืชและเศษวัสดุทางการเกษตร การจราจร ภูมิประเทศและภาวะความกดอากาศสูงทำให้เกิดสภาวะอากาศปิดหากประชาชนได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั้งเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด เป็นต้น จากข้อมูลการป่วยด้วยโรคจากมลพิษอากาศหรือเกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ของประชาชนอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2565 เมื่อวิเคราะห์รายกลุ่มโรคที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ในปี 2563 ได้แก่ COPD, Bronchitis, Acute Pharyngitis ตามลำดับ ในปี 2564 ได้แก่ COPD, Pneumonia, Acute Pharyngitis ตามลำดับ ในปี 2565 ได้แก่ Acute Pharyngitis, COPD, Pneumonia ตามลำดับ ดังนั้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานและปัจจัยที่มีผลต่อการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ในช่วงสถานการณ์ PM 2.5 อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยกลุ่มตัวอย่างจากผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ในช่วงสถานการณ์ PM 2.5 อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 404 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2566
ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.54 ช่วงอายุ 51-60 ปี ร้อยละ43.58 ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 10.15 สถานที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลฟากท่า ร้อยละ 34.33 ตำแหน่ง อสม. ร้อยละ 89.55 มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ในช่วงสถานการณ์ PM 2.5 อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มาแล้วมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 29.85 ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ในช่วงสถานการณ์ PM 2.5 มี 4 ด้าน (48 ตัวแปร) คือ 1)ด้านทักษะความสามารถ และด้านระบบการปฏิบัติงาน (Skill & System) 2)ด้านปริมาณ เวลาและคุณภาพของงาน (Amount Time & Quality) 3)ด้านโครงสร้างองค์กร (Structure) 4) ด้านสังคม (Social)